หลักการจดโดเมนเนม

Domain Name คือ คำสามัญที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ทดแทนตัวเลขบอกตำแหน่งที่ตั้งของเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ( IP Address ) เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักและจดจำเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวเลข IP Address นั้นจดจำได้ยากว่า   โดยองค์การกลางที่ควบคุมการจดทะเบียน Domain Name คือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ( ICANN ) ของสหรัฐอเมริกา


ประเภทของ Domain Name

Top Level Domain Name คือ Domain Name ที่สามารถจดได้ทั่วโลก   คุณสามารถเช็ครายชื่อที่ว่างอยู่ได้จากผู้ให้บริการ Hosting ทั่วไป   หรือเข้าไปตรวจสอบโดยตรงได้ที่ www.internic.net/regist.html.   นามสกุลของ Domain Name จะแบ่งใช้ตามประเภทขององค์กร เช่น .mil จะใช้ได้เฉพาะกับหน่วยงานทางด้านการทหารของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น   หรือ .gov จะใช้ได้เฉาพะกับหน่วยงานทางด้านการปกครองของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เป็นต้น   นามสกุลของ Top Level Domain Name อื่นๆที่พบบ่อย ได้แก่

- .com ( Commercial )

-  .net ( Network )

-  .org ( Organization )

จะพบว่านามสกุลอื่นๆของ Top Level Domain Name นั้นจะมีการใช้แพร่หลายทั่วไป   โดยไม่ได้แบ่งตามประเภทขององค์กรมากนักเนื่องจากคำนึงถึงความนิยมของผู้ใช้งานเป็นหลัก

Local Domain Name คือ Domain Name ที่จดตามสังกัดของแต่ละประเทศ   สำหรับประเทศไทยนั้น ควบคุมโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและบริษัทที่ดูแลการจดทะเบียน Domain Name ภายใต้ .th คือ THNIC ( http://www.thnic.co.th ) ซึ่งข้อกำหนดในการจดทะเบียนแบบแรก นั่นคือ จะต้องมีการจดให้ตรงตามประเภทขององค์กร พร้อมทั้งมีหลักฐานในการยืนยันการจดทะเบียนด้วยได้แก่

-  ac.th  หน่วยงานการศึกษา ( มาจากคำว่า Academic ) เงื่อนไขการขอจดทะเบียน คือ ต้องเป็นสถานศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย

-  co.th  หน่วยงานการค้า ( Commerce ) เงื่อนไขการขอจดทะเบียน คือ ต้องเป็นนิติบุคคล

-  in.th  บุคคลหรือองค์การทั่วไป ( Individuals ) เงื่อนไขการขอจดทะเบียน คือ ต้องมีบัตรประชาชน

-  go.th  หน่วยงานรัฐบาล ( Government ) ไม่เปิดรับจดทะเบียน

-  mi.th  หน่วยงานทหาร ( Military ) ไม่เปิดรับจดทะเบียน

-  or.th  หน่วยงานไม่แสวงผลกำไร ( Non – Profit Organization ) ไม่เปิดรับจดทะเบียน

-  net.th  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ( Internet Service Provider )

 

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อ Domain Name

1. ชื่อ Domain จะต้องประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ( ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กถือเป็นตัวเดียวกัน ) หรือตัวเลข ( 0 – 9 ) เท่านั้น

                2. สามารถใช้ตัวอักษรได้สูงที่สุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร

                3. อักขระพิเศษสามารถใช้ได้เพียงเครื่องหมาย ยติภังค์ เครื่องหมายขีดสั้นๆที่ใช้เชื่อมคำผสมหรือขีดกลางนั่นเอง ( - ) นอกจากนี้แล้วไม่สามารใช้อักขระพิเศษอื่นๆได้

                4. ห้ามเว้นวรรคระหว่างชื่อ

                5. ระยะ เวลาในการจะทะเบียนเริ่มตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปและสามารถจดได้นานที่สุด 10 ปี และ สำหรับ Local Domain จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมจากข้างต้นอีก ดังนี้

                                5.1 แต่ละองค์การสามารถถือครองชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อโดเมน ยกเว้น .in.th

                                5.2 แต่ละองค์กรสามารถถือครองชื่อโดเมน .in.th ได้ตามจำนวนชื่อโดเมนที่ต้องการ ( ทั้งนี้ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้องกับนโยบายของ THNIC )

                                5.3 สำหรับ .co.th แต่ละองค์กรสามารถถือครองชื่อโดเมนภายใต้ .co.th มากกว่า 1 ชื่อโดเมน ก็ต่อเมื่อองค์กรจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ( ทั้งนี้ชื่อโดเมนจำเป็นต้องเป็นชื่อเต็ม   หรือคำทับศัพท์ของเครื่องหมายการค้า/บริการ )

 

หลักการคิดชื่อ Domain Name ที่ดี

                1. ชื่อโดเมนไม่ควรยาวเกินไป

                2. ชื่อจะต้องสามารถจดจำได้ง่าย   สะกดผิดยากโดยเฉพาะชื่อโดเมนที่เป็นการเรียนแบบลักษณะคำอ่านของภาษาไทย   ควรระมัดระวังไม่ให้สะกดยากจนเกินไปนักเนื่องจากคำไทยบางคำ เมื่อแปลงเป็นภาษาอังกฤษแล้วอาจทำให้เกิดการสับสนระหว่างการจดจำได้หากต้องการใช้จริงๆ ควรใช้เป็นคำสั้นๆง่ายๆ เช่น pantip.com , sanook.com , kapook.com เป็นต้น

                3. ต้องสื่อความหมายทางธุรกิจ   สอดคล้องกับสินค้าและบริการที่ทำการจดชื่อโดเมนนั้น   ไม่ควรใช้เพียงแต่ชื่อบริษัทในการจดทะเบียนเท่านั้นแต่ควรให้มีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการอยู่ด้วย เช่น หากทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลง ก็ควรมีคำว่า music หรือ lyrics ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยให้ผู้เข้าทราบว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับอะไร   ซึ่งสื่อได้ชัดเจนกว่าการใช้เพียงชื่อบริษัทอย่างเดียว
  • 3 Users Found This Useful
Was this answer helpful?

Related Articles

สามารถที่จะสั่งซื้อโดเมนเนมพร้อมกับเว็ปโฮสติ้งได้พร้อมกันหรือไม่

คุณสามารถสั่งซื้อพร้อมกันได้ทันที โดยทำการสั่งซื้อผ่านระบบ Shopping Cart...

สามารถที่จะสั่งซื้อโดเมนเนมพร้อมกับเว็ปโฮสติ้งได้พร้อมกันหรือไม่

คุณสามารถสั่งซื้อพร้อมกันได้ทันที โดยทำการสั่งซื้อผ่านระบบ Shopping Cart...

ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการบริการใช้โฮสติ้ง กับไชโย โฮสติ้ง

สามารถทำงานผ่าน Web Browser ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ โปรแกรมช่วยเหลืออื่น ๆ อีก

ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการบริการใช้โฮสติ้ง กับไชโย โฮสติ้ง

สามารถทำงานผ่าน Web Browser ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ โปรแกรมช่วยเหลืออื่น ๆ อีก

ต้องใช้เวลานานเท่าไรหลังจากที่จ่ายเงินแล้วถึงจะสามารถ อัพโหลดเว็บไซต์ได้

ภายใน 24 ชั่วโมงในวันเวลาทำการ  เพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินในกรณีที่ท่านใช้วิธีโอนเงินผ่านทางธนาคาร...